;
ตกลง
022717600
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
สำนักงาน กสทช.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์
  • ด้านส่งเสริมผู้ประกอบกิจการและผู้ประกอบวิชาชีพ
ข้อมูลพัฒนาวิชาชีพ

การพัฒนาบุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

         สำนักงาน กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (2555 - 2559) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาคุณภาพการประกอบกิจการ ซึ่งมุ่งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อันประกอบด้วยการพัฒนาคุณภาพบุคลากร รายการ และผู้ประกอบกิจการ เพื่อให้ตอบสนองต่อเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้ประกอบวิชาชีพอย่างมีความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ พัฒนาคุณภาพรายการ และการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

         รวมถึงแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (2563 - 2568) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงเพื่อยกระดับมาตรฐานการประกอบกิจการและเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนในการรับบริการและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นพื้นฐานได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศให้เหมาะสมกับบริบทและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

         สำนักงาน กสทช. โดยสำนักพัฒนาองค์กรวิชาชีพและส่งเสริมการบริการทั่วถึง (ชส.) ได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ด้วยการส่งเสริมความรู้และทักษะที่สำคัญและจำเป็นในการประกอบวิชาชีพให้แก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน โดยการดำเนินการให้ความรู้และส่งเสริมทักษะ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในหลากหลายหลักสูตร ได้แก่





         ในปัจจุบัน สำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยการให้ความรู้และส่งเสริมทักษะแล้ว ทั้งหมด 27 โครงการ จำนวนรวม 82 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศ ใน 30 จังหวัด และมีจำนวนกลุ่มเป้าหมายรวมมากกว่า 6,480 คน* ที่ได้รับความรู้และทักษะที่สำคัญและเป็นประโยชน์ เพื่อนำไปประกอบกิจการและประกอบวิชาชีพได้อย่างมีคุณภาพและสร้างสรรค์ สามารถปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ นอกจากนั้น ยังเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์จากผู้ที่อยู่ในสายวิชาชีพเดียวกันอีกด้วย

*ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564
กำลังโหลดข้อมูล ...